วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

รู้จักการใช้งานโปรแกรมและเครื่องมือของไพธอน

คลิกที่เมนู Start ที่มุมซ้ายล่างของหน้าจอ เลื่อนลงหาโฟลเดอร์ Python ตามภาพ จะมี icon โปรแกรมไพธอนปรากฎดังภาพด้านล่าง
  • IDLE (Python 3.11 64-bit) คือ python shell เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการเขียนคำสั่งไพธอน
  • Python 3.11 (64-bit)  เป็นการใช้งานแบบ Python command line เหมือนกับ windows command line ที่เรียกใช้งานไพธอน
  • Python 3.11 Manuals (64-bit) เอกสารคู่มือการใช้งานไพธอน
  • Python 3.11 Module Docs (64-bit) เปิดเอกสาร Module สำหรับไพธอน

วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

ทดลองรันโปรแกรมไพธอน

ทดลองรัน python บน windows ไปที่มุมซ้ายล่างของหน้าจอ  คลิกที่แว่นขยายตามภาพ > พิมพ์ cmd > กด Enter

จะปรากฎ Windows Command Prompt  พิมพ์คำว่า python  จะเข้าสู่ python command prompt ถ้าเข้าแบบนี้ได้ แสดงว่าเกิดสภาพแวดล้อมการทำงานของ python บน Windows แล้ว

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

ดาวน์โหลดและติดตั้งโปรแกรมไพธอน Windows10

เปิดเว็บไพธอน  https://www.python.org/   คลิกที่เมนู Downloads จะปรากฎ link ไพธอนสำหรับระบบปฏิบัติการต่างๆ (OS) ที่แถบด้านล่างเมนู ผู้เขียนใช้ Windows OS ดังนั้นจึง คลิก Windows  หากภาพเว็บบล็อกนี้ไม่เหมือนหน้าเว็บของไพธอน  เว็บทางการคงมีการ update หน้าเว็บ  แต่หลักการก็จะประมาณนี้  คือเลือกตามระบบปฏิบัติการ และตามด้วยเวอร์ชั่น

ก้าวแรกสู่ภาษาไพทอน

เรียบเรียงจาก https://www.youtube.com/watch?v=H_1bY1mpsJo

รู้จักภาษาไพทอน

interpreted เป็นภาษาที่สามารถรันได้เลย เช่น เขียนโปรแกรม 1 บรรทัด กด enter ก็รันได้เลย

ซึ่งต่างจากภาษาซี ซึ่งต้องเขียนให้เสร็จก่อน

และก็ compile หรือแปลงภาษาโปรแกรมให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ 

และจึงนำตัวโปรแกรมที่ compile แล้วมาใช้งาน

high-level ภาษาระดับสูง หรือเป็นภาษาที่มนุษย์เข้าใจได้ง่าย 

general-purpose programming language เป็นภาษาที่ทำอะไรได้หลายอย่าง เช่น IoT, Machine Learning, AI, Data Science, Big Data, เขียนเว็บ เขียนเกมส์