วันพุธที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2555

GDAL/OGR

GDAL/OGR เป็นชุดเครื่องมือจัดการและประมวลผลข้อมูลราสเตอร์และเวกเตอร์ พัฒนาขึ้นด้วยภาษา C / C++ มีความสามารถรองรับและสนับสนุนรูปแบบของข้อมูลภูมิสารสนเทศทั้งเวกเตอร์และ ราสเตอร์หลายรูปแบบทั้งการอ่าน/แก้ไข/และการเขียน ปัจจุบันมีผู้นำ GDAL/OGR ไปใช้ในซอฟต์แวร์ประยุกต์สำหรับประมวลผลภูมิสารสนเทศทั้งในซอฟต์แวร์เชิง พาณิชย์ เช่น ArcGIS, MapGuide, Google Earth, Cadcorp SIS, FME และซอฟต์แวร์รหัสเปิด เช่น GRASS, QGIS, GeoServer และ OpenEV เป็นต้น และยังได้มีการพัฒนาขยายขีดความสามารถให้นำไปใช้ได้กว้างขวางขึ้นโดยใช้ร่วม กับภาษาอื่นในลักษณะ Binding เช่น ใช้ได้กับภาษา Python, Java, C#, Ruby, VB6 และ Perl สถานะของชุดเครื่องมือเป็นโปรแกรมรหัสเปิด อนุญาตให้ใช้ตามสัญญา X/MIT 

GDAL/OGR แบ่งออกเป็น2 ส่วน ส่วนแรกคือ GDAL (Geo-spatial Data Abstraction Library) มีขีดความสามารถครอบคลุมด้านการประมวลผลข้อมูลราสเตอร์ ส่วนที่สองคือOGR library ครอบคลุมการใช้งานกับข้อมูลเวกเตอร์ ทั้งสองส่วนเมื่อผนวกกันไว้ ทำให้เป็นชุดเครื่องมือระดับแกนกลางที่นักพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สามารถนาไป ใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดีการเรียกขานชื่อ GDAL/OGR เนื่องจากในระยะต้นเป็นเพียงชุดเครื่องมือด้านข้อมูลราสเตอร์เพียงอย่าง เดียว เป็นที่รู้จักในชื่อGDAL หลังจากได้รวมเอาส่วนของOGR ไว้ด้วย จึงเรียกว่า GDAL/OGR แต่ถ้าเจาะจงใช้ชื่อGDAL ให้หมายถึงกรณีที่กล่าวถึงบริบทที่เป็นเรื่องการทำงานกับข้อมูลแบบราสเตอร์ และในทำนองเดียวกัน เมื่อกล่าวถึงชื่อ OGR ก็ให้หมายถึงบริบทของการทำงานกับข้อมูลแบบเวกเตอร์
ชุด เครื่องมือ GDAL/OGR จะประกอบด้วย Library ของเครื่องมือต่างๆ ในรูปแบบของภาษา C/C++ ส่วนดังกล่าวนี้เองที่ผู้พัฒนาโปรแกรมสามารถนาไปใช้เป็นเครื่องมือประมวล หลักต่างๆ ในซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมประยุกต์ของตนเอง ดังเห็นได้จาก GDAL/OGR ถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือประมวลผลของซอฟต์แวร์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์และซอฟต์แวร์รหัสเปิดดังที่กล่าวข้างต้น นอกเหนือจากการนำไปใช้โดยตรง มีกลุ่มผู้พัฒนาโปรแกรมหลายกลุ่มได้พัฒนา GDAL/OGR ให้สามารถใช้ได้กับโปรแกรมภาษาอื่นๆ โดยเรียกใช้จากสภาพแวดล้อมของการทำงานของโปรแกรมภาษานั้นๆ ด้วยการเขียนโปรแกรมครอบตัวเครื่องมือคำสั่งหลักของ GDAL/OGR อีกชั้นหนึ่ง เช่น Python, Java, C#, Ruby, VB6 และ Perl สิ่งนี้เองทำให้สามารถขยายการใช้งานจากกลุ่มนักพัฒนาโปรแกรมภาษา C/C++ ไปยังกลุ่มผู้พัฒนาด้วยโปรแกรมภาษาอื่นๆ ได้เป็นอย่างดีการใช้งาน GDAL/OGR ทำได้อีกลักษณะสำหรับผู้ใช้งานทั่วไป คือการพิมพ์คำสั่งเรียกใช้เครื่องมือต่างๆ ที่มีของ GDAL/OGR ในลักษณะของการพิมพ์คำสั่ง (Command Line) โดยที่ GDAL/OGR ได้ทำการคอมไพล์ชุดเครื่องมือหลักขึ้นจานวนหนึ่งเป็นไฟล์ที่สามารถสั่งทำงาน ได้ทันที (Executable File) โดยแบ่งเป็นชุดเครื่องมือ
GDAL และ OGR ทั้ง 2 ส่วนจะประกอบด้วยเครื่องมือการแปลงรูปแบบไฟล์ข้อมูลจากรูปแบบหนึ่งไปอีกรูป แบบหนึ่ง ซึ่งชนิดของรูปแบบข้อมูลมีการสนับสนุนอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งราสเตอร์และเวกเตอร์ นอกจากนี้ยังสนับสนุนการแปลงค่าระบบพิกัดต่างๆ ตามมาตรฐานสากลที่มีอยู่ หรือจากการกำหนดค่าพารามิเตอร์เฉพาะตามแต่พื้นที่ได้เอง ด้วยความสามารถและการใช้งานในลักษณะนี้ จึงเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ใช้งานทั่วไปที่ต้องการแปลงข้อมูลไปสู่รูปแบบ ต่างๆ รวมถึงการปรับค่าระบบพิกัดได้ด้วยตนเอง ด้วยการพิมพ์คำสั่งที่มีอยู่ ตามความต้องการของผู้ใช้งาน อย่างไรก็ตามการใช้งานดังกล่าวเป็นลักษณะของการพิมพ์คำสั่ง ผู้ใช้ต้องจำคำสั่งได้หรือสามารถเรียกดูข้อแนะนำการใช้งานของแต่ละโปรแกรม ได้เอง ซึ่งไม่มีลักษณะการทำงานแบบเมนูให้ไว้ ดังนั้นผู้ใช้งานที่ต้องการใช้ผ่านทางเมนูจึงต้องหาซอฟต์แวร์ที่มีเครื่อง มือดังกล่าวเรียกใช้งานเอง เช่น QGIS เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น