tile-caching แนวคิดแบบนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่กลายเป็นเรื่องจริงเมื่อ webmapping สมัยใหม่มีการนำเทคนิค tile-caching มาใช้ในการนำเสนอข้อมูล gis ผ่่่านอินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะกลุ่มที่เป็น mush up api เช่น Google Map/Google Earth, Virtual Earth, Multimap เป็นต้น
Tile Cache เน้นที่ประสิทธฺภาพการแสดงผล กล่าวคือเป็นการแสดงผลข้อมูลแผนทีประเภทบิตแมปได้อย่างรวดเร็ว โดยหลักการง่ายๆก็คือการแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนๆแล้วส่งมาแสดงผลยังเครื่อง ลูกข่าย ซึ่งไฟล์แต่ละอันจะมีขนาดเล็กลดการใช้แบนวิดและเวลาในการโหลดข้อมูลจากแม่ ข่ายลง ที่สำคัญซอฟท์แวร์ประมวลผลยังสามารถแคชไฟล์ที่เคยโหลดมาแล้วได้ด้วย โดยลดภาระในการที่ต้องโหลดข้อมูลซ้ำซ้อน ถ้ามองในมุมมองของผู้ให้บริการหรือ server ปลายทางการเสียเวลาในการจัดเตรียมภาพในรูปแบบโครงสร้างของ tile และ tree-level ใ นตอนแ รกเป็นการลงทุนที่คุ้มเพื่อลดโหลดในการประมวลผลข้อมูลภาพในทุกๆ request เช่นระบบ mapservice แบบเดิม ทำให้การเรียกข้อมูลแผนที่มาแสดงผลยังปลายทางก็เปรียบเสมือนกับการดาวน์โหลด ภาพ แต่แน่นอนว่า client software ย่้อมต้องมีความสามารถในการจัดการกับข้อมูลแบบ tile image ด้วยเช่นกัน
ปัจจุบันแนวคิดนี้่ค่อนข้างจะเป็นที่แพร่หลายซอฟต์แวร์ internet gis หลายเจ้ารองรับและมีฟีเจอร์นี้ รวมไปถึง oSGEO ได้มีการคิดและพัฒนาโปรโตคอลมาตรฐาน Tile Map Service Specification 1.0 (อ่านรายละเอียดจาก http://wiki.osgeo.org/wiki/Tile_Map_Service_Specification) ออกมาและมีการ พยายามปรับปรุง WMS ในเวอร์ชั่นใหม่WMS-C/TMS server ให้มีโหมดการทำงานแบบ tile-caching อีกด้วย
รูปแบบโครงสร้างของ Tile reference
ตัวอย่างข้อมูลภาพ ortho ที่ทำการ process เพื่อจัดแบ่งเป็น tile และจัดเก็บเป็น pyramid index แล้ว
ตัวอย่าง xml file ที่ใช้ config ข้อมูลโดยอ้างอิง Tile-Caching Specification
ระบบพิกัดภูมิศาสตร์ที่ใช้ใน
TileCache MapService ส่วนมากที่ใช้งานกันทั้งใน Google Map Google Earth
หรือตัวอื่นๆไม่ใช้ Geodetic Coordinate Sytem หรือที่ีรู้จักกันในนาม EPSG
4326 แต่เป็น Mercator map projection
OSGEO:41001 PROJCS["WGS84 / Simple
Mercator", GEOGCS["WGS 84", DATUM["WGS_1984",
SPHEROID["WGS_1984",6378137,298.257223563]], PRIMEM["Greenwich",0],
UNIT["Decimal_Degree", 0.0174532925199433]],
PROJECTION["Mercator_1SP"], PARAMETER["central_meridian",0],
PARAMETER["false_easting",0], PARAMETER["false_northing",0],
UNIT["Meter",1]]
แต่ถ้าไม่คิดเรื่องความถูกต้องมากมายนัก(ยอมรับระดับเ มตร) ท่านก็สามารถใช้ WGS84 geodetic coordinates ได้
ควาวนี้มาลงรายละเอียดคราวๆเรื่องการปรับแต่ Server ว่าทำไม TMS
ถึงได้ดีกว่า Mapserver แบบเดิม(CGI/PHP Mode) เพราะว่าเราสามารถใช้โมดูลบน
Http ในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการข้อมูล
โดยตัวหลักๆที่นิยมใช้งานกันคือ HTTP MOD_CACH
ซึ่งเกี่ยวกับการเพิ่มความสามารถในการ caching ไฟล์
http://httpd.apache.org/docs/2.0/mod/mod_cache.html) และอีกตัวหนึ่งคือ
Http compress ผ่าน mod_gzip
http://schroepl.net/projekte/mod_gzip/config.htm)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น